พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ที่1 งานสมาคมฯ@ศุนย์ราชการ
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
มะกะระ พระกรุ | |||||||||||||||
โดย
|
makara995 | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระติดรางวัล | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ที่1 งานสมาคมฯ@ศุนย์ราชการ |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ 1 ในสุดยอดพระเนื้อดิน จังหวัดสุโขทัย พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ เป็นพระเนื้อดินค่อนข้างหยาบ เปราะหักง่ายเพราะเป็นพระพิมพ์ที่บางมาก ศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ ปางมารวิชัย ได้แตกกรุครั้งแรกแค่มากี่ร้อยองค์เท่านั้น ในปี พ.ศ.2502 โดยกรมศิลปากรได้ขุดพบที่วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม เป็นชื่อตามศิลาจารึกสุโขทัย จากนั้นได้ขุดพบที่วัดต้นจันทน์และวัดพญาดำตามลำดับซึ่งก็พบพระพิมพ์นี้น้อย ข้อสังเกตส่วนใหญ่จะมีคราบหินปูนจับตามองค์หรือซอกองค์พระ ขนาดองค์จริงสูงประมาณ 3 ซ.ม. กว้างประมาณ 2.7 ซ.ม.อายุการสร้างราว พุทธศักราช 1939-51 ประมาณ 600 ปีเศษ ต่อมาในปี พ.ศ.2505-06 ทางกรมศิลปากรถึงได้รวบรวมพระพิมพ์นี้ทั้งหมดออกจำหน่ายให้กับประชาชนในราคาองค์ละ 50 บาท นับเป็นราคาที่สูงพอสมควรกับค่าเงิน เมื่อเทียบราคาทองคำ 1 เฟื้องทีเดียว ปัจจุบันด้วยเป็นพระที่พบน้อยจึงหายากถึงยากที่สุด ราคาประเมินองค์งาม ๆ อยู่ที่องค์ละหลักแสนต้น ๆ พุทธคุณ เป็น 1 ด้านนำโชคลาภ เมตตามหานิยมสุดยอด แคล้วคลาดนิรันดรอันตราย *ข้อควรระวัง ปัจจุบันมีพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ (เก๊) ออกระบาดหนัก แม้แต่พิมพ์พระกรุใกล้เคียงก็ออกมาสมอ้างมากมาย ถ้าสงสัยให้ปรึกษาผู้รู้ไว้ก่อนอย่าใจร้อน เพราะ “ของแท้ไม่มีราคาถูก” แน่นอน “มนัส ล้อมทรัพย์” ประวัติผู้สร้างพระนางเสน่ห์จันทน์ “วัดพระศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม” ศตวรรษที่ 19 จากหลักศิลาจารึกสุโขทัย วัดตาเถรขึงหนัง วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม ชาวบ้านเรียกแต่เดิมว่าวัดตาเถรขึงหนัง ต่อมาได้พบศิลาจารึกที่วัดนี้ปรากฏชื่อเรียกว่า วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม สร้างขึ้นในพุทธศักราช 1946 โดย “พระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลงแม่” ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้า ที่ 2 และเป็นพระราชมารดาของพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าที่ 3 (ไสลือไท) เจ้าเมืองสุโขทัย ได้โปรดให้นิมนต์พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากเมืองกำแพงเพชรมาอำนวยการสร้างวัดแห่งนี้ วัดแห่งนี้ ล้อมรอบด้วยคูน้ำเช่นเดียวกับวัดทั่วไปในสุโขทัย รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัด ได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบทั่วไปของสุโขทัยที่มีฐานเตี้ย แต่เจดีย์วัดศรีพิจิตรฯ ตั้งอยู่บนฐานสูง มีฐานเขียงสี่เหลี่ยมเรียบ 3 ชั้น ต่อด้วยฐานย่อมุมไม้ยี่สิบ แล้วจึงถึงส่วนเรือนธาตุที่เป็นทรงระฆัง ทางด้านตะวันออกของเจดีย์ได้พบ "อัฒจันทร์" คือลายบนพื้นเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก (ครึ่งวงกลม) มีลวดลายเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากศิลปะลังกา “จากการค้นคว้าทำให้ทราบถึงที่มาของการสร้างวัดและพระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทร์ ตามจารึกอ้างอิง สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา พุทธศักราช ตั้งแต่ 1939-1951” จารึกวัดบูรพารามบอกเล่าพระราชประวัติ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชสามี สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ประสูติจากพระครรภ์ สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา เมื่อประมาณปี พ.ศ.1911 ทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อพระชนมพรรษาได้ 16 ปี ได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ.1939 และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.1951 ในปี พ.ศ.1955 สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ จึงทรงสร้างวัดบูรพาราม ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในจารึกหลักนี้ สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงระบุสายสัมพันธ์ราชสกุล ตามลำดับพระราชอิสริยยศ คือ - สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา - สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา (ผู้สร้างวัดตาเถรขึงหนังและ พระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทน์) - สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ - สมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ - ศรีธรรมาโศกราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ การสร้างวัด ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และการทำบุญต่าง ๆ นั้น สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงอุทิศแด่สมเด็จปู่พระญา พ่อออก แม่ออก สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระศรีธรรมราชมารดา และทรงอธิษฐานว่า ขอให้ได้เกิดเป็นผู้ชายในอนาคตกาล ขอให้ได้สดับตรับฟังธรรมอันประเสริฐของพระพุทธเมตไตรย ขอพระพุทธเมตไตรยดำรัสสรรเสริญพระนางท่ามกลางพุทธบริษัท ขออย่าให้ผู้อื่นเทียมทันพระนางด้วยบุญสมภารด้วยรูป ด้วยยศ ด้วยสมบัติในทุกภพทุกชาติไป นอกจากศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีศิลาจารึกสำคัญ ๆ ของสุโขทัยที่ให้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัยในอดีตอีกมากมาย เช่น ศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ จารึกวัดพระยืน จารึกวัดสรศักดิ์ จารึกกฎหมายลักษณะโจร จารึกปู่สบถ จารึกวัดเขากบ จารึกวัดเขมา จารึกวัดป่าแดง จารึกพระธรรมกาย จารึกพระอภิธรรม “จารึกวัดตาเถรขึงหนัง” จารึกวัดกำแพงงาม จารึกวัดพระเสด็จ จารึกนายศรีโยธาราชออกบวช จารึกภาพชาดกในอุโมงค์วัดศรีชุม 48 ภาพ กับจารึกอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นหลักฐานสำคัญของชาติไทย ให้รู้ว่าไทยเป็นประเทศเอกราชมีเอกลักษณ์ของตนเอง และเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นติดต่อกันมานานไม่น้อยกว่า 700 ปีมาแล้ว คนรุ่นเก่าคงจะจำกันได้ว่า เมื่อพ.ศ.2502 นั้น กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะโบราณสถานที่จังหวัดสุโขทัยเป็นการใหญ่ โบราณสถานอันเก่าแก่หลายแห่งได้ถูกค้นพบพระพุทธรูปและพระเครื่องบรรจุกรุไว้มากมาย โดยเฉพาะที่วัด "ตาเถรขึงหนัง" หรือ "วัดศรีพิจิตรฯ" นั้น เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้พบกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่อีกกรุหนึ่ง อันเป็นที่มาของพระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทน์ พระ "นางพญาเสน่ห์จันทน์" แตกกรุ จากการบูรณะโบราณสถานสุโขทัยด้านใต้ เมื่อ พ.ศ.2502 ที่ "วัดตาเถรขึงหนัง" นั้น เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ขุดพบกรุพระเข้าโดยบังเอิญ และได้สร้างความมหัศจรรย์แก่ผู้อยู่ ณ ที่นั้นยิ่งนัก เพราะเมื่อกรุนั้นถูกเปิดออก หลายคนทีเดียวก็ต้องถึงกับตะลึง ด้วยปรากฏว่าภายในกรุ ได้มีกลิ่นหอมโชยอบอวลฟุ้งไปทั่วบริเวณ แม้แต่พระเครื่องที่พบครั้งนั้นก็พลอยมีกลิ่นหอมไปด้วยทุกองค์ ด้วยเหตุนี้พระพิมพ์ดังกล่าว จึงได้ถูกขนานนามต่อมาว่า "พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" ซึ่งเป็นพระเครื่องศิลปะสุโขทัยที่งดงามมากอีกพิมพ์หนึ่ง ต่อมาได้ขุดพบที่วัดต้นจันทน์และวัดพญาดำอีก ปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์หนึ่งซึ่งหายาก มูลค่าก็ยิ่งแพงมาก พระเครื่องซึ่งพบจากกรุวัดตาเถรขึงหนังครั้งนั้น นอกจากพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ซึ่งมีลักษณะสามเหลียมหน้าจั่ว สูงประมาณ 3.-3.2 ซ.ม. พระกว้าง 2.5-2.7 ซ.ม. เป็นพระเนื้อดินเผาได้ขึ้นจากกรุมาหลายร้อยองค์แล้วยังปรากฏว่ามีพิมพ์พระเชตุพน พระเปิดโลก และพระแผงอีกหลายแบบได้รวมอยู่ด้วยในกรุนี้ ส่วนคำว่า "นางพญาเสน่ห์จันทน์" เพราะเป็นพระนั่งที่มีลักษณะสามเหลี่ยมซึ่งจัดอยู่ในสกุลพระ "นางพญา" อีกองค์หนึ่งนั่นเอง ส่วนองค์ต้นสกุลก็คือ "พระนางพญา" กรุวัดนางพญาที่จังหวัดพิษณุโลก ด้วยพบก่อนครั้งแรกแม้อายุการสร้างจะทีหลังห่างกันพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ถึง 200 กว่าปีก็ตาม พุทธลักษณะ สี และการตัดปีกข้างของพระเครื่องพิมพ์ "นางพญาเสน่ห์จันทน์" พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย นั่งขัดราบบนฐานเขียง อยู่บนพื้นหลังสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลักษณะองค์พระค่อนข้างอวบอัด พระพักตร์ป้อมด้วยศิลปะแบบสุโขทัย รายละเอียดอลังการ "พระนางพญาเสน่ห์จันทน์" พระเครื่องซึ่งมีชื่ออันไพเราะประทับใจดังกล่าวนี้ จะมีแต่ชนิดที่สร้างเป็นเนื้อดินอาจจะผสมว่านหรือผงเกสรดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเท่านั้น เนื้อค่อนข้างร่วนแก่ดินซึ่งมีทั้งกรวดทรายละเอียดผสมอยู่มาก พระพิมพ์นี้จึงหักง่าย สำหรับคราบที่ติดผิว หมายถึงพระเครื่องที่ยังไม่ได้ผ่านการใช้ จะปรากฏฝ้าขาวนวลจับอยู่ตามซอกทั่วไปเกือบทุกองค์ และที่ด้านหลังขององค์พระบางองค์จะมีลายมือประทับติดอยู่ด้วย สำหรับสีของนางพญาเสน่ห์จันทน์ จะมี สีแดง(ยอดนิยม) สีเหลือง สีเขียว และสีอมดำเท่าที่พบ ส่วนขนาดกว้างยาวของพิมพ์นี้จะมีทั้งชนิดใหญ่และเล็ก ซึ่งความจริงแล้วองค์พระนางพญาเสน่ห์จันทน์จะมีขนาดเดียว การที่เป็นชนิดใหญ่และเล็กนั้นก็ขึ้นอยู่กับการตัดปลีกให้กว้างจนดูใหญ่ หรือตัดปีกชิดจนดูเล็กไปเท่านั้นเอง แต่ถ้าดูองค์พระแล้วจะเท่ากันหมดทุกองค์ ในปี พ.ศ.2502 กรมศิลปากรได้เปิดกรุวัดพิจิตรฯ สุโขทัย ให้ประชาชนเช่าบูชาด้วยราคาถึงองค์ละ 50 บาท นับว่าเป็นราคาที่แพงมากกับค่าเงินในสมัยนั้น ปัจจุบันนี้พระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ราคาเต็มที่ประเมินอยู่ในหลักแสนต้น ๆ พุทธคุณ โดดเด่นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดอันตราย และนี่ก็คือพระยอดนิยมของเมืองสุโขทัยพิมพ์สำคัญ ที่งดงามในศิลปะสุโขทัยบริสุทธิ์ จนเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ได้เห็น จนอยากได้ไว้ครอบครองทีเดียว |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0813116011 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0818306399 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
22,623 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|