ท่ากระดาน กรุวัดเทวะสังฆาราม ที่4 งานสมาคมฯ
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
มะกะระ พระกรุ | |||||||||||||||
โดย
|
makara995 | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระติดรางวัล | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
ท่ากระดาน กรุวัดเทวะสังฆาราม ที่4 งานสมาคมฯ |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระท่ากระดาน เป็นพระที่ถูกจัดอยู่ในเบญจภาคีพระชุดยอดขุนพลเนื้อชิน พระกรุนี้มีพบด้วยกันหลายครั้งหลายหนตามกรุต่างๆ ทั้งที่ตัวตำบลท่ากระดานเอง และพบในครั้งหลังตามกรุต่างๆ ในตัวจังหวัดด้วย ทำไมพระท่ากระดานจึงมีการพบที่ตัวจังหวัดด้วย วันนี้เราจะมาคุยกันถึงต้นกำเนิดและพระที่พบในตัวจังหวัดกันครับ พระท่ากระดานนั้นในสมัยก่อนที่มีการพบพระครั้งแรกๆ นั้น เขาจะเรียกกันว่า "พระเกศปิดตาแดง" เนื่องจากพระที่พบส่วนใหญ่มีพระเกศบิดคดงอ และเป็นพระเนื้อชินสนิมแดง จึงเรียกกันตามลักษณะของพระที่พบไปตามนั้น ต่อมามีความนิยมเสาะหาพระท่ากระดานกันมากเนื่องจากพุทธคุณของพระท่ากระดาน นั้นมีประสบการณ์เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและมหาอุด ผู้ที่มีพระท่ากระดานติดตัวไม่เคยมีผู้ใดได้รับอันตรายเพราะศัสตราวุธเลย แหล่งที่พบพระท่ากระดานในครั้งแรกๆ นั้นพบอยู่ที่วัดร้างในตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี และสถานที่แห่งนี้เองเป็นแหล่งกำเนิดพระท่ากระดาน ต่อมาจึงเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระท่ากระดาน" ตามตำบลที่พบ การขุดหาพระท่ากระดานนั้นได้มีคนขุดพบพระท่ากระดานกันมานานแล้ว และขุดพบกันต่อมาเรื่อยๆ ส่วนมากได้กันครั้งละไม่กี่องค์ พบกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณวัดร้างทั้ง 4 วัด คือวัดบน วัดกลาง วัดล่าง และวัดต้นโพธิ์ ต่อมาพบที่ถ้ำใกล้ๆ นั้นอีกคือที่ถ้ำลั่นทม ต่อมาได้มีการขุดหาอย่างจริงจังที่ตำบลท่ากระดานอีกในปี พ.ศ.2495-2496 พระที่พบในตำบลท่ากระดานนี้จะเรียกกันว่า "พระท่ากระดานกรุเก่า" และเนื่องจากหน้าถ้ำมีต้นลั่นทม ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกพระท่ากระดานที่พบในบริเวณนี้ว่า "พระท่ากระดาน กรุต้นลั่นทม"พระที่พบเป็นพระเนื้อชินสนิมแดงทั้งหมด บางองค์จะมีการปิดทองมาแต่ในกรุ พระส่วนใหญ่จะมีสนิมไขขาวคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง ต่อมามีการพบพระท่ากระดานที่ตัวจังหวัดอีก 3 วัดคือ ในปี พ.ศ.2497 ที่วัดหนองบัว หลวงปู่เหรียญได้ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามขึ้น เพราะมีความชำรุดทรุดโทรมมาก ขณะที่ช่างก่อสร้างกำลังซ่อมพระอุโบสถหลังเก่าอยู่นั้น ปรากฏว่าได้พบพระท่ากระดานรวมทั้งสิ้น 93 องค์ และพระสกุลท่ากระดานอีก 21 องค์ รวมทั้งยังได้พบพระปิดตาเนื้อผงที่หลวงปู่ยิ้มสร้างไว้อีกหลายองค์ พระเครื่องเหล่านี้พบอยู่ในไหโบราณ ที่อยู่บนเพดานพระอุโบสถด้านหลังพระประธาน ในปี พ.ศ.2506 ได้พบพระท่ากระดานอีกที่วัดเหนือ (วัดเทวสังฆาราม) สมัยหลวงพ่อดี เป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากทางวัดได้มีการเจาะพระเจดีย์องค์ประธาน ซึ่งประดิษฐานอยู่หน้าพระวิหาร เพื่อบรรจุพระพุทธ 25 ศตวรรษ ซึ่งเป็นพระที่ทางราชการมอบมาให้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ขณะที่คนงานกำลังเจาะลึกลงไปได้ประมาณ 1 เมตร ได้มีทรายที่บรรจุอยู่ทะลักพรูออกมาเป็นอันมาก เมื่อโกยทรายออกมาจนหมดจึงพบไหโบราณเคลือบสีดำ ภายในบรรจุพระท่ากระดานและพระเครื่องต่างๆ ฝังเรี่ยราดอยู่เป็นอันมาก พระที่พบมีพระท่ากระดาน 29 องค์ พระท่ากระดานหูช้าง 800 องค์ พระขุนแผนเรือนแก้วสองพิมพ์คือพิมพ์สมาธิและพิมพ์มารวิชัย เนื้อชินสนิมแดง 200 องค์ พระโคนสมอ 200 องค์ พระมารวิชัยสะดุ้งกลับ 20 องค์ พระแบบทวารวดี 2 องค์ พระชัยวัฒน์ 10 องค์ และพระท้าวชมภูฯ 2 องค์ ในปี พ.ศ.2507 พบพระท่ากระดานอีกที่วัดท่าเสา ได้มีการขุดพระเจดีย์โบราณองค์หนึ่งได้พระท่ากระดานออกมาจำนวนหนึ่ง และได้พระท่ากระดานน้อยอีกจำนวนมาก เป็นพระเนื้อตะกั่วสนิมแดงทั้งหมด จำนวนของพระทั้งสองชนิดไม่ได้มีการบันทึกไว้ พระท่ากระดานที่พบใน 3 ครั้งหลังนี้เรียกกันว่า "พระท่ากระดานกรุใหม่" พระกรุใหม่ที่พบนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระกรุเก่า เนื้อหาก็เป็นแบบเดียวกันทุกประการ การพบในครั้งหลังนี้พบพร้อมกับพระชนิดอื่นๆ ปะปนกันอยู่ จึงสันนิษฐานได้ว่าพระท่ากระดานถูกนำมาจากที่กรุเก่าแล้วบรรจุรวมไว้กับพระ ชนิดอื่นๆ คงมีผู้นำมาถวายเพื่อนำไปบรรจุไว้ภายหลัง แต่นำมาบรรจุไว้ตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิด"สนิมไขและสนิมแดง" ขึ้นคลุมอย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่จะลงรักปิดทองมาแต่เดิม ดังนั้นข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษา "พระท่ากระดาน" ก็คือ สภาพสนิมไข สนิมแดง และรักเก่า ทองเก่า"พระท่ากระดาน" นั้นในสมัยโบราณเรียกขานกันว่า "พระท่ากระดาน เกศคด ตาแดง" อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะคือ มีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วน "ตาแดง" นั้นเนื่องจากพระท่ากระดานเป็นพระหล่อจากเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งพอได้อายุเนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมบนผิว "สนิมตะกั่ว" จะมีลักษณะเป็นสีแดง หนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสก็จะยิ่งมันวาว และบนสนิมแดงนี้จะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง และจาการเวลาที่ยาวนานดังกล่าวแล้วสนิมแดงนี้จะเป็นสนิมแดงเข้มคล้ายสี เปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" ลักษณะเป็นตาตารางบนเนื้อสนิมแดง ตลอดจนบนสนิมไขซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่วขององค์พระ เอกลักษณ์ที่เป็นพระแท้อีกประการหนึ่งคือ "คราบปูนแคลเซี่ยม" อันเป็นหลักสำคัญ สำหรับการพิจารณาพระแท้ของพระเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งเรียกว่า "พระชินสนิมแดง""พระท่ากระดาน" มีทั้งหมด 2 กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ ทั้งสองกรุนี้จะแตกต่างกันที่พื้นหลังขององค์พระ "กรุเก่า" จะตัดติดเป็นขอบพื้นบ้าง ทำให้องค์พระแลดูใหญ่และล่ำสัน ส่วน "กรุใหม่" จะตัดติดขอบชิดกับแม่พิมพ์ขององค์พระ เห็นพระพักตร์และพระกรรณอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อดูพระท่ากระดานกรุใหม่จะมีขนาดเล็กกว่ากรุเก่า แต่ผิวพระและลักษณะแม่พิมพ์ด้านหน้าจะคมชัดนักพระเครื่อง มักนำ "พระท่ากระดาน" ไปล้างผิวแคลเซี่ยมออกเพื่อให้เห็นสีของสนิมแดงและรอยแตกตามุ้งได้อย่าง ชัดเจนทั้งองค์ แต่ในปัจจุบันจะนิยมความบริสุทธิ์ขององค์พระเดิมที่ปราศจากการล้างหรือ ตกแต่งใดๆ ตำหนิแม่พิมพ์และรายละเอียดต่างๆ จึงถูกบดบังด้วยผิวรักปิดทอง สนิมแดง และแคลเซี่ยม การพิจารณาจึงจำเป็นต้องตรวจสอบจากขนาดขององค์พระและเอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ เป็นสำคัญ พระท่ากระดาน มีพุทธศิลปะแบบสกุลช่างอู่ทองหน้าแก่ อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 พุทธคุณเด่นทางด้านมหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี และโชคลาภ |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0813116011 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0818306399 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
7,179 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|