พระแม่ย่า เนื้อดินสุโขทัย (ติดรางวัล2งาน)
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
มะกะระ พระกรุ | |||||||||||||||
โดย
|
makara995 | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระติดรางวัล | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระแม่ย่า เนื้อดินสุโขทัย (ติดรางวัล2งาน) |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระแม่ย่า เป็นรูปสลักหินชนวน สูงประมาณ ๑ เมตรเศษ ประทับยืน ทรงพระภูษา แต่ไม่ได้ทรงฉลองพระองค์ ทรงถนิมพิมพาภรณ์แบบนางกษัตริย์ ประวัติและที่มาอันแน่นอนของแม่ย่านั้น ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าเป็นใคร ผู้รู้บางท่านสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นเทวรูปพระอุมาในยุคขอมเรืองอำนาจก่อนกรุงสุโขทัย บางท่านก็ว่าน่าจะเป็น "พระนางเสือง" พระมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ส่วนเหตุที่เรียกว่า "แม่ย่า" นั้น เนื่องจากชาวเมืองสุโขทัยเชื่อกันว่า พระแม่ย่านี้คือพระนางเสือง พระมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ชาวเมืองเคารพสักการะ และถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก ใครบนบานศาลกล่าวสิ่งใดมักจะได้สมปรารถนา จึงมีผู้ไปแก้บนที่ศาลเป็นประจำ เดิมนั้นเทวรูปแม่ย่าประดิษฐานอยู่ ณ ถ้ำแม่ย่า ต.นางเชิงคีรี อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ห่างจากเมืองเก่าสุโขทัย ประมาณ ๗ กิโลเมตร ปัจจุบันองค์พระแม่ย่าถูกอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ศาลพระแม่ย่า ณ บริเวณ ต.ธานี จ.สุโขทัย ทั้งนี้ ในราว พ.ศ.๒๔๕๗ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพยายามค้นหาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเขตเมืองเก่าสุโขทัย เนื่องจากบรรยากาศทางด้านการศึกษาความเป็นมาของสยามประเทศในยุคนั้น ดำเนินไปอย่างคึกคัก เช่น มีการตั้ง "สมาคมสืบสวนของบุราณแห่งสยามประเทศ" ซึ่งต่อมาเรียกว่า "โบราณคดีสโมสร" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่อง "เที่ยวเมืองพระร่วง" โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร และเป็นอุปนายกโบราณคดีสโมสรด้วย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพยายามสืบสวนเรื่องราวของอาณาจักรสุโขทัย โดยเปรียบเทียบกับศิลาจารึกหลักต่างๆ โดยเฉพาะหลักที่ ๑ ซึ่งมีข้อความกล่าวถึงเทพารักษ์ประจำเมือง ซึ่งสถิตปกปักรักษาอยู่ ณ เขาหลวง ปรากฏชื่อในศิลาจารึกว่า "พระขพุงผี" ดังปรากฏความว่า "เบื้องหัวนุอนเมืองสุโขทัยทนี้...มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดีพลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้มบ่เกรง..เมืองนี้หาย" และในคราวที่ค้นหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเมืองนี้ ก็ได้พบเทวรูปเทวสตรีสลักจากหินชนวน อยู่ในลักษณะการยืนสูงราวหนึ่งเมตร ลักษณะคล้ายประติมากรรมพระแม่อุมาเทวี ทรงภูษานุ่งยาวเป็นริ้ว มิได้ทรงพัสตราภรณ์ ซึ่งสถานที่พบคือ บริเวณถ้ำพระแม่ย่า เขตตำบลนางเชิงคีรี เมืองสุโขทัย พ.ศ.๒๔๕๘ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้โปรดให้เจ้าเมืองสุโขทัย พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมภ์) อัญเชิญรูปสลักนั้นมาประดิษฐานที่เค้าสนามหลวง หรือศาลากลาง ต่อมาชาวสุโขทัยเชื่อว่า เทวสตรีดังกล่าวก็คือ "นางเสือง" ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพ่อขุนบานเมือง และพ่อขุนรามคำแหง ทรงเป็นเอกอัครมเหสีของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย และทรงเป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนผาเมืองแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถม ผู้ช่วยกันกับพระสหายกอบกู้บ้านเมืองให้พ้นจากอำนาจของขอมอีกด้วย ชาวสุโขทัยจึงอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นมิ่งมงคลแก่เมืองและเรียกกันสืบต่อมาว่า "พระแม่ย่า" อันหมายถึงสตรีที่มีฐานะสูงสุด เป็นทั้งพระมารดา และพระอัยยิกาแห่งเมืองสุโขทัย อย่างไรก็ตาม ในช่วง พ.ศ.๒๔๕๖ มีผู้พบพระเครื่องเนื้อดินผสมผงเกสร มีพุทธลักษณะงดงามคล้ายสตรีประทับนั่งสมาธิ (พระถัน หรือนม ใหญ่กว่าพระเครื่องปกติ) มีสันฐานพิมพ์เป็นสามเหลี่ยม ดูงดงาม บริเวณเขาพระแม่ย่า และยังพบอีกใน พ.ศ.๒๔๙๕ ก็ได้พบพระพิมพ์ดังกล่าวอีกที่วัดมหาธาตุ ประชาชนจึงเรียกกันติดปากสืบต่อมาว่า "พระแม่ย่า" ซึ่งแบ่งเป็นพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก กิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่ย่าสุโขทัย เลื่องลือไปทั่ว ผู้ใดทุกข์ร้อนเจ็บท้องข้องใจ ก็พากันไปบนบานศาลกล่าว ก็จะประสบความสำเร็จ ดุจดั่งมารดาผู้คอยปกป้องคุ้มครองดูแลบุตร อันเป็นที่รัก โดยมิเคยรั้งรอ ขณะเดียวกัน มีการจัดสร้างพระเครื่องพระแม่ย่าออกมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ จนถึงปัจจุบันหลายสิบรุ่น ส่วนการจัดงานประจำปีพระแม่ย่านั้น จ.สุโขทัย จะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี อ. ราม วัชรประดิษฐ์ |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0813116011 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0818306399 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
9,749 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|