พระหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง พิมพ์ชัยพฤษมาลา สตางค์สิบ
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
มะกะระ พระกรุ | |||||||||||||||
โดย
|
makara995 | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเนื้อผง | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง พิมพ์ชัยพฤษมาลา สตางค์สิบ |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระพิมพ์ชัยพฤษมาลา หรือที่ชาวบ้านแถววัดสะพานสูงเรียกว่าพิมพ์สิบตังค์นั้น จัดสร้างในราวปี พ.ศ ๒๔๖๘ ออกให้ทำบุญในคราวฉลองสะพานและฉลองอายุ ๖๐ปีของหลวงปู่กลิ่น จึงทำให้บางคนเรียกพระชุดนี้ว่าพระแซยิดหลวงปู่กลิ่น มีการสร้างด้วยกันสามพิมพ์หลัก ได้แก่ พระปิดตา พระพิมพ์ชัยพฤษมาลา พระพิมพ์ลูกอม โดย พระพิมพ์ชัยพฤษมาลาถูกเรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า พระพิมพ์สิบตังค์ อันหมายถึงมูลค่าเงินบริจาคถวายวัดแล้วได้รับแจกพระพิมพ์นี้ สำหรับการสร้างก็เพื่อให้ชาวบ้านที่ต้องการพระไปใช้แต่ไม่ชอบพระปิดตา ก็จะเลือกพิมพ์พระพุทธแทนได้ เนื้อหาพระเป็นผงน้ำมันเนื้อหาจะออกสีขาวเทา มีทั้งแบบบรรจุกรุและไม่บรรจุกรุ ที่บรรจุกรุจะไม่มีการลงรักเพราะหลวงปู่กลิ่นท่านแพ้รัก ส่วนที่ลงรักจะเป็นแบบไม่บรรจุกรุและชาวบ้านที่ได้พระไปนำพระไปลงรักเองที่หลังเพื่อเป็นการรักษาพระ โดยบางองค์มีการลงสีหรือยางไม้ทับแทนจะเป็นรัก หรือบางองค์พบเป็นรักน้ำเกลี้ยงก็มี สำหรับนักสะสมสายสะพานสูง หากไม่มีสะสมใน คอลเลคชั่นแล้วล่ะก็ ยังไม่ถือว่าเป็นักสะสมสายสะพานสูงตัวจริง ครับ การพิจารณาเก๊แท้ 1.ต้องพิจารณาจากเนื้อหาก่อนเพราะพระหลวงปู่กลิ่น เนื้อจะขาว นักสะสมถึงกับเอ่ยปากว่า เนื้อเหมือนพระวัดระฆัง 2.พิมพ์ทรงจะเหมือนพิมพ์ของวัดชัยพฤกษ์มาลา เท่าที่พบจะมีประมาณสามบล็อค 3.พระของท่านส่วนใหญ่จะทาสีฝุ่น หรือทารักน้ำเกลี้ยง ของเก๊ส่วนใหญ่จะทาเป็นยางไม้ซะเยอะ รักดำก็มี 4.จุดตายอยู่ที่ด้านท้ายองค์พระ ขอปิดไว้ก่อน เพราะเป็นจุดตายจริงๆ ผิดจากนี้ห่างไว้ครับ เพราะพบเห็นตัวจริงน้อยมาก พระครูโศภณศาสนกิจ นามเดิมว่า (กลิ่น) ท่านเกิด ณ วันอังคาร ขึ้น๑๓ค่ำเดือน๑๑ ปีฉลู สัปตศก ๑๒๒๗ เวลา ๒น.(๘ทุ่มเศษ) ลักขณาสถิตเตโชธาตุ ราศีสิงห์ ตรงกับวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ บิดาชื่อ นายเปลี่ยน มารดาชื่อ นางอิ่ม จันทร์เปลี่ยน ท่านเป็นพี่ชายใหญ่ และมีน้องสาวอีกคน บ้านเดิมของบรรพบุรุษ อยู่ที่ตำบลบางแพรก อำเภอนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี ท่านได้ไปศึกษาอักษรวิธี ที่วัดท้ายเมือง ตำบลตลาดขวัญ จังหว้ดนนทบุรี การศึกษาของท่านในครั้งนี้เป็นการศึกษาอักษรไทย ครั้นอายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้บรรพชาและได้ ศึดษาอักษรขอมและบาลี ในสำนักท่านอาจารย์ อิน วัดหงส์รัตนาราม จังหวัดธนบุรี อายุได้ ๑๙ ปี โยมผู้หญิงของท่านได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงได้ลาเพศบรรพชา แล้วกลับมาอยู่ที่บ้านเดิมของท่าน ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ท่านได้ย้ายมาอยู่กับ ท่านอาจารย์เอี่ยม ที่วัดสะพานสูง ตำบลบ้านแหลมใหญ่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในฐานะเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เอี่ยม พ.ศ.๒๔๒๘ อายุท่านได้ ๒๑ ปี จึงได้อุปสมบท ณ วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ (แปดหลัง) ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๔กรกฎาคม ณ พัทสีมา วัดสะพานสูง พระอาจารย์เป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์รุ่ง วัดท้องคุ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์น้อย วัดสัลเลข (วัดสาลีโข) เมื่อท่านอุปสมบทแล้วมีฉายาว่า จนฺทรงฺสี ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดสะพานสูงตลอดมา และท่านชอบศึกษาหนักไปในทางวัปัสนาธุระ พร้อมทั้งได้ศึกษาทางเวชศาสตร์ จาก พระอาจารย์เอี่ยมซึ่งเป็นพระอุปัชฌายะของท่านเป็นจำนวนมาก จนถึงกาลเมื่อพระอาจารย์เอี่ยมได้มรณภาพไปแล้ว การศึกษาเวชศาสตร์ของท่านจึงค่อยเบาบางลง บทความทั้งหมด คัดลอกจากหนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่กลิ่น ปี๒๔๙๐ ... พ.ศ.๒๔๓๘ ท่านได้รับการแต่ตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง โดยความเห็นพร้อมกันเป็นเอกฉัน ในทางฝ่ายประชาชน และทางคณะสงฆ์ ซึ่งมีพระปรีชาเฉลิม (แก้ว) วัดเฉลิมพระเกียรติ์เป็นผู้อนุมัติ เมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ปรากฏว่าท่านเป็นผู้ทรงคุณะรรมหลายประการ คือท่านเป็นผู้มักน้อย ไม่ต้องการแสวงหาหรือสะสมในสิ่งที่ไม่จำเป็น ถือสันโดษ ไม่มีโลภะเจตนา พร้อมทั้งได้วางหลักการปกครองของวัดไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย รัดกุม โดยยึดมั่นในสันติวิธีทุกประการ ท่านมีอุปนิสัยหนักไปในทางข้อวัตร์ปฎิบัติ และปฎิสังขรวัดวาอาราม ฉะนั้นนับแต่ท่านได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูงแล้ว ท่านจึงเริ่มสถาปนาวัดให้เจริญขึ้นตามลำดับ อาทิเช่นจัดระเบียบกุฎิให้เข้าแถวเข้าแนวเป็นระเบียบเรียบร้อย สร้างโบถวิหาร ศาลาการเปรียญ จนวัดสะพานสูงได้เจริญขึ้นมาเป็นลำดับๆ อีกประการหนึ่งท่านเป็นผู้สนใจในทางคันถธุระ คือการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นผู้จัดสร้างโรงเรียนปถมขึ้น เพื่อให้อนุชนไค้รับการศึกษาเป็นอย่างดี แม้ในทางปริยัติท่านก็ได้จัดหาครูมาสอน และจัดการหาสถานที่ในการเรียนให้เป็นที่เรียบร้อยเช่นเดียวกัน พร้อมทั้งท่านได้จัดหาหนังสือฝ่ายปริยัติไว้มากามาย ยังความสะดวกแก่ผู้ศึกษาเป็นอเนกประการ อนึ่งท่านเป็นผู้ชำนาญในทานเวชกรรม อีกประการหนึ่งด้วย (ฉะนั้นจึงได้จัดพิมพ์ตัวยาที่ท่านเคยใช้ ไว้ข้างท้ายนี้ตามสมควร) ในทางอิทธิเวช ซึ่งท่านได้ศึกษามา ได้อำนวยผลให้แก่บรรดาศิษย์และบุคคลอื่นๆ ที่เจ็บป่วยมา ให้เสื่อมคลายหายจากโรคนั้นๆ มีมากมาย ในทางคาถาอาคมปลุกเสกเลขยันต์ ย่อมเป็นที่ซาบซึ้งในอำนาจอิทธปาติหาร แก่ปวงศิษย์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ท่านได้เข้าร่วมในพิธีปลุกเสกแหวนมงคลเก้า และเสมารูปสมเด็จพระสังฆราช ของทางราชการนั้เป็นหลายครั้งด้วยกัน นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ชำนาญในทางโหราศาสตร์ด้วยอีกประการหนึ่งโดยอาศัยวิชาความรู้และคุณธรรมของท่านดังกล่าวมาโดยย่อในข้างต้นนั้น ท่านจึงเป็นผู้ที่เคารพและนับถือของศิษยานุศิษย์ทั้งหลายเป็นอย่างยิ่งครั้นต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๗ ท่านได้รับตำแห่นงเป็นเจ้าคณะหมวด ตำบลบ้านแหลม เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ท่านได้รับตำแหน่งแต่งตั้งเป็นพระครูโสภณศาสนกิจพ.ศ. ๒๔๗๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการศึกษาประจำอำเภอปากเก็ดพ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะพ.ศ. ๒๔๘๗ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการสงฆ์อำเภอ ในตำแหน่งองค์การสาธารณปการณ์ครั้นย่างขึ้น พ.ศ. ๒๔๙๐ อายุของท่านย่างเข้า ๘๒ ปี ท่านได้เริ่มป่วยเล็กน้อย (เรียกว่าโรคชรา) แต่ยังไปไหนมาไหนได้เป็นปกติ ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๔.๐๐ น. ท่านได้เริ่มป่วยเป็นลมหน้ามืด มีอาการเสียดแทงขึ้นตามเส้นสูญ ของท้อง เมื่อฉันยาแล้วอาการเสียดแทงนั้นก็หายไป ในระยะรุ้งขึ้น วันที่ ๗ มกราคม เวลา ๒๓ น. มีอาการไข้เกิดขึ้นเล็กน้อย ครั้นถึง เวลา ๔.๐๐ น.ของวันที่ ๗ ท่านมีอาการกำเริบขึ้นอีก ในวันที่ ๘ อาการไม่ทุเลาลง มีแต่ทวีขึ้นเป็นลำดับ นายแพทย์ ได้ทำการฉีดยาและถวายยาให้ฉัน อาการก็ทรงอยู่เป็นพักๆ ตามความเห็นของนายแพทย์บอกว่ากะเพาะอาหารและลำไส้หยุดทำงาน ครั้นถึง เวลา ๑๙.๐๐ น. ไตได้หยุดทำงานไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ อาการก็ทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึง เวลา ๑.๑๐ น. ของวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านจึงได้มรณะภาพลงในท่ามกลางพยาบาลที่รักษาและศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย เมื่อศิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี โดยประมาณพรรษากาลได้ ๖๑ พรรษา ฉะนั้นการมรณภาพของท่านได้ยังความวิปโยค |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0813116011 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0818306399 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
9,638 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|