พระท่ามะปรางค์ เงี้ยวทิ้งปืน พิษณุโลก
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
มะกะระ พระกรุ | |||||||||||||||
โดย
|
makara995 | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระกรุ | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระท่ามะปรางค์ เงี้ยวทิ้งปืน พิษณุโลก |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระท่ามะปรางค์ กรุวัดท่ามะปรางค์ จ.พิษณุโลก สภาพ พระผ่านการใช้งาน และมีการผุกร่อนตามธรรมชาติกรุ พระในเขตจังหวัดพิษณุโลก พระขึ้นจากกรุจะมีสภาพผุระเบิดไม่มากก็น้อย หาสวยๆเหมือนกรุวัดราช หรือเขาพนมเพลิงสุโขทัยได้ยากครับ พระท่ามะปราง เป็นพระพิมพ์หนึ่งที่มีการขุดพบจากหลายกรุหลายเมือง ต้นกำเนิดที่ขุดพบครั้งแรก คือ วัดท่ามะปราง จ.พิษณุโลก ต่อมาเมื่อมีการขุดพบพระที่มีพุทธลักษณะคล้ายๆ กันนี้ ก็เรียกว่า พระท่ามะปราง เช่นกัน พระท่ามะปราง มี 2 เนื้อ คือ เนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน มีพุทธคุณด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี ยิงฟันไม่เข้า จนได้รับฉายาว่า “พระเงี้ยวทิ้งปืน” จากบทความของ คุณชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของ พระท่ามะปราง “เงี้ยวทิ้งปืน” ว่า “เงี้ยว” เป็นชนเผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ตามภูเขา ต่อมาได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานทางภาคตะวันออกของประเทศพม่า ตรงบริเวณที่มีชายแดนติดต่อกับล้านนาของไทย เมื่ออังกฤษเข้ายึดครองพม่า ก็ได้รวมเอาดินแดนของ “เงี้ยว” ไว้กับอินเดีย ต่อมา “เงี้ยว” เริ่มเข้ามาค้าขายกับไทย ผ่านพม่า เข้ามาทางภาคเหนือ ออกเส้นทางหลวงพระบาง และยูนาน จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มี “เงี้ยว” บางส่วนตกค้าง และทำมาหากินอยู่ในดินแดนไทย ถึงยุคกลางรัตนโกสินทร์ ภาคเหนือของไทยยังสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด บริษัทต่างชาติจากอังกฤษเข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ จ้าง “เงี้ยว” เป็นแรงงานแผ้วถางป่า ต่อมาผู้ครองแคว้นต่างๆ ได้ยุยงให้ “เงี้ยว” แข็งข้อกับไทย หัวหน้าเงี้ยวได้นำกำลังบุกสถานีตำรวจเมืองแพร่ ตำรวจไม่สามารถต้านทานได้เงี้ยวจึงบุกสังหารปล้นทรัพย์สินทำลายคลังหลวง จน พระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ ต้องหลบหนีออกไปจากเมืองแพร่ ขณะที่เงี้ยวได้ปล่อยนักโทษในเรือนจำ ให้ออกมาร่วมรบด้วย จนมีกองกำลังกว่า 300 คน กองโจรเงี้ยวจึงยึดเมืองแพร่ได้สำเร็จ และ พระยาไชยบูรณ์ ถูกโจรเงี้ยวฆ่าตาย พร้อมด้วยข้าราชการใหญ่น้อยอีกมากมาย ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ รัฐบาลไทยได้มอบหมายให้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกทัพหลวงขึ้นไปปราบปราม พร้อมกับส่งกำลังจากกองทัพเมืองใกล้เคียง ทั้งเมืองพิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่ เข้าร่วมด้วย โดยถือว่าผู้ปฏิบัติการทั้งหมดเป็นกบฏก่อการร้าย เรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ในขณะที่ พระยาสุรศักดิ์มนตรี นำทัพหลวงผ่านมาถึงเมือง พิษณุโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการขุดพบพระกรุที่ วัดท่ามะปราง มาก่อนแล้ว 5 ปี โดยฝีมือคนร้ายขโมยขุดกรุ พระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงได้ทำพิธีเปิดกรุพระวัดท่ามะปราง และได้นำพระจากกรุนี้ทั้งเนื้อดินและเนื้อชินแจกจ่ายแก่ทหาร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการต่อสู้กับเงี้ยว ปรากฏว่าทหารไทยที่ห้อย พระกรุวัดท่ามะปราง ถูกกระสุนปืนยิงล้มคว่ำล้มหงาย แต่ไม่เป็นไร กระสุนไม่ระคายผิวหนัง สามารถลุกขึ้นมายิงต่อสู้กับพวกเงี้ยวได้อีก จนโจรเงี้ยวเห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์ ถึงกับใจเสีย จึงพากันหนีแตกกระเจิงไปทันที พระท่ามะปรางกรุนี้จึงมีชื่อว่า พระท่ามะปราง กรุเงี้ยวทิ้งปืน พระท่ามะปรางเป็นพระที่ขุดพบจากหลายกรุหลายเมือง แต่ต้นกำเนิดแห่งแรก คือ กรุวัดท่ามะปราง จ.พิษณุโลก มีอายุความเก่าสูงกว่าของทุกๆ เมือง มีทั้งเนื้อดิน ค่อนข้างละเอียด และเนื้อชินเงิน พุทธลักษณะ พระกรุวัดท่ามะปราง จ.พิษณุโลก องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาวางแนบหัวเข่าด้านขวา หัวเข่าอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ ที่เรียกว่านั่งแบบเข่าใน พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเกศแบบปิ่นยาวเล็กน้อย เม็ดพระศกแบบตาข่ายสี่เหลี่ยม พระกรรณยาวประบ่า พระกรอวบล่ำ ซอกพระกรแคบ พระนาภี (สะดือ) เป็นแอ่งบุ๋มเล็กๆ พระวรกายชะลูดกว่าพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ ขนาดองค์พระกว้างประมาณ 2.3 ซม.สูงประมาณ 3.8 ซม. พระท่ามะปราง “เงี้ยวทิ้งปืน” เนื้อชินเงิน กรุวัดท่ามะปราง จ.พิษณุโลก ส่วนมากมักจะไม่ค่อยสวยคมชัด ผิวดำ และผุกร่อน ขาดความสมบูรณ์ ราคาเช่าหาร่วมแสนบาท ถ้าเป็นพระสภาพดี มีคราบปรอทขาว สวยสมบูรณ์คมชัด ซึ่งมีน้อยมาก สนนราคาต้องหลักแสนถึงสองแสนขึ้นไป พุทธคุณ พระท่ามะปราง ทุกพิมพ์ ทุกกรุ ถือว่ายอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี รวมทั้งเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ “กรุเงี้ยวทิ้งปืน” ด้วยแล้ว ด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าเป็นเลิศสุดๆ (ขอขอบพระคุณ ข้อมูลจาก คุณชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0813116011 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0818306399 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
2,317 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|