ร้าน มะกะระ พระกรุ
www.makara.99wat.com
Tel: 0813116011
0818306399

พระเครื่องทุกองค์ รับประกันเป็นพระแท้ ตามมาตราฐานสากล

พร้อม ส่งประกวดเพื่อยืนยันความแท้กับงานประกวดระดับมาตราฐาน 

สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย 

(Thai Buddha Image Admiration Association)  

หรือยินดี ส่งตรวจรับรองพระแท้

โดย นิตยสารท่าพระจันทร์ , การันตีพระ , งานประกวดพระเครื่องพระบูชาโดยสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย

เงินท่านแท้ ท่านก็ควรได้พระแท้ไปครอบครอง 

 
พระปิดตาวัดท้ายตลาด พิมพ์สมาธิแหวกม่าน มีรางวัล


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
มะกะระ พระกรุ
โดย
makara995
ประเภทพระเครื่อง
พระติดรางวัล
ชื่อพระ
พระปิดตาวัดท้ายตลาด พิมพ์สมาธิแหวกม่าน มีรางวัล
รายละเอียด
พระวัดท้ายตลาด กรุงเทพมหานคร

"พระวัดท้ายตลาด มีการค้นพบเมื่อครั้งกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฎพระพิมพ์เนื้อผง จำนวนมากมายถึง 89,000 องค์ "

 วัดท้ายตลาด เป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำเลที่ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ หลังพระราชวังเดิม ในอดีตสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี บริเวณดังกล่าวนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า “ท้ายตลาด” หรือ “ท้ายพระราชวังเดิม” จึงนิยมเรียกขานวัดนี้กันว่า "วัดท้ายตลาด" และในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องทุกยุคทุกสมัยก็มักเรียกพระเครื่องจากกรุพระเจดีย์วัดนี้กันติดปากว่า "พระวัดท้ายตลาด" เช่นกัน

ย้อนไปในสมัยกรุงธนบุรี วัดท้ายตลาดนับเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดฯ ให้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และยังคงมีความสำคัญต่อเนื่องจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรียังทรงมีความผูกพันกับวัดท้ายตลาดมาโดยตลอด อาทิเช่น รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดฯ อาราธนาสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชทานนามวัดท้ายตลาดว่า "วัดพุทไธศวรรยาวาส” หรือ "วัดพุทไธศวรรย์" ต่อมาพระราชทานนามใหม่เป็น "วัดโมลีโลกยาราม" จนถึงปัจจุบัน และพระราชโอรสในพระองค์เมื่อทรงพระเยาว์ก็เสด็จไปศึกษาอักขระสมัยเบื้องต้นกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ที่วัดนี้ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 3 เมื่อคราวท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) พระราชกรรมวาจาจารย์ของพระองค์มรณภาพลง ทรงโปรดฯ ให้หล่อพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) 2 รูป “รูปเล็ก” บูชาอยู่ในหอพระเจ้า ส่วน “รูปใหญ่” ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอเพื่อเป็นที่ประดิษฐานไว้ที่วัดโมลีโลกยารามหรือวัดท้ายตลาด โดยเป็นการหล่อในโอกาสเดียวกับรูปหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชพระญาณสังวร (สุก) สังฆราชไก่เถื่อน ที่ วัดพลับ มาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ก็ยังมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามอย่างสม่ำเสมอ และในคราวที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จฯ พระราชทานพระกฐิน จะทรงเสด็จฯ ไปสักการะพระรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ทุกครั้ง

พระวัดท้ายตลาด มีการค้นพบเมื่อครั้งกรุพระเจดีย์แตก ได้ปรากฎพระพิมพ์เนื้อผง จำนวนมากมายถึง 89,000 องค์ และมีหลายแบบหลายพิมพ์ ทั้ง พระพิมพ์ปางอุ้มบาตร พระพิมพ์ปางประทานพร พระพิมพ์ปางปรกโพธิ์ข้างเม็ด ปางโมคคัลลาน์-สารีบุตร ฯลฯ ซึ่งปางต่างๆ ดังกล่าว ล้วนเป็นคติการสร้างพระพุทธรูปซึ่งเกิดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทั้งสิ้น นอกจากนี้ พุทธลักษณะองค์พระนับเป็นการออกแบบที่ได้สัดส่วนงดงามและประณีต ซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นฝีมือการสร้างในระดับ “ช่างหลวง” ที่สำคัญ พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเหมือนอย่างโบราณกษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยการสร้างพระพิมพ์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ เพื่อเป็นการสืบทอดพระศาสนา จึงทรงโปรดฯ ให้ สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงคิดค้นคัดเลือกพระพุทธอิริยาบถปางต่างๆ ในพระพุทธประวัติ (นับรวมกับแบบเดิม 8 ปาง เป็น 40 ปาง ประดิษฐานไว้ในหอราชกรมานุสร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) จึงสันนิษฐานได้ว่าพระวัดท้ายตลาด น่าจะสร้างขึ้นโดยรัชกาลที่ 3 และด้วยเหตุผลประการสุดท้าย คือ การจะสร้างพระได้จำนวนมากมายถึง 8 หมื่นกว่าองค์นั้น สามัญชนคนธรรมดาทั่วไปคงจะเป็นไปได้ยากมากแน่นอน

ในช่วงแรกๆ ที่กรุแตกนั้น พระวัดท้ายตลาดยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก จนเมื่อคราวเกิดสงครามอินโดจีน ได้มีการนำพระซึ่งมีจำนวนมากส่งไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายไปยังเหล่าทัพต่างๆ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ด้วยพุทธคุณเป็นที่ปรากฏประจักษ์แก่สายตาผู้ที่เข้าร่วมทัพ และบอกเล่าต่อเนื่องกันปากต่อปาก ทำให้พระวัดท้ายตลาดได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น จนปัจจุบันกลายเป็นพระพิมพ์เนื้อผงยอดนิยมสำหรับวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชาไทยไปแล้ว

ข้อสังเกตที่จะฝากไว้ในการพิจารณา “พระวัดท้ายตลาด” ประการหนึ่ง คือ นอกจากพระที่นำมาแจกจ่ายเมื่อคราวสงครามอินโดจีนแล้ว ยังมีการนำพระบางส่วนไปบรรจุในกรุพระเจดีย์ตามวัดต่างๆ อาทิ วัดตะล่อมและวัดธนบุรี เป็นต้น ดังนั้น จากสภาพแวดล้อมและสภาวะภายในกรุแต่ละกรุที่แตกต่างกัน องค์พระจึงมีลักษณะพื้นผิวที่ต่างกันด้วย เช่น พระที่นำไปบรรจุไว้ที่วัดตะล่อม ซึ่งจะบรรจุใต้ฐานชุกชีคลุกอยู่กับปูนขาว ทำให้เวลานำองค์พระออกมา ผิวขององค์พระจึงถูกปูนขาวจับอยู่โดยทั่วไป แลดูไม่เข้มขลังเหมือนกับพระที่ออกจากกรุวัดท้ายตลาด ความนิยมจึงลดหลั่นแตกต่างกันไปครับผม
ราคา
-
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
0813116011
ID LINE
0818306399
จำนวนการเข้าชม
13,713 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x

แสดงความคิดเห็น