สมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ พิมพ์เปลวเพลิงใหญ่ พิเศษหลังจารย์ ติดรางวัล2งาน
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
มะกะระ พระกรุ | |||||||||||||||
โดย
|
makara995 | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระติดรางวัล | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
สมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ พิมพ์เปลวเพลิงใหญ่ พิเศษหลังจารย์ ติดรางวัล2งาน |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระพุทธบาทปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม "พระสมเด็จปิลันทน์นอกจากจะได้รับความนิยมสูงสุดแล้ว ยังได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดเบญจภาคีพระเนื้อผงอีกด้วย" 2“พระพุทธบาทปิลันทน์” ขนานนามตามชื่อผู้สร้างคือ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ลูกศิษย์ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้สร้างพระสมเด็จอันเป็นสุดยอดพระเครื่องแห่งเมืองไทย และนับได้ว่าเป็นพระภิกษุเพียงรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกครองดูแลวัดแทน และสืบต่อมาท่านได้จำเริญในสมณศักดิ์ จนครั้งสุดท้ายดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ "หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)" เทียบเท่ากับพระอาจารย์ ครั้งเมื่อหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ครองวัดระฆังฯ ในราวปี พ.ศ.2407 ท่านได้ดำริสร้างพระพิมพ์ให้ครบ 84,000 องค์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติโบราณนิยม ส่วนหนึ่งเพื่อแจกผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสไว้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตราย อีกส่วนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบสานพระบวรพุทธศาสนา ด้วยการสร้างพระพิมพ์เนื้อผงใบลานเผาขึ้นเป็นจำนวนมาก แบบและพิมพ์มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์ คือท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มอบมวลสารพระสมเด็จวัดระฆังฯ รวมทั้ง "ผงปถมัง" ให้เป็นส่วนผสมในพระพิมพ์ ซึ่งคือส่วนที่ปรากฏเป็นผงสีขาวในองค์พระ นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังร่วมในการอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยพระคาถาชินบัญชร อันทรงคุณวิเศษอีกด้วย จึงเรียกขาน “พระพุทธบาทปิลันทน์” กันในอีกนามหนึ่งว่า “พระเครื่องสองสมเด็จ” สำหรับด้านพุทธคุณคงไม่ต้องพูดกันเลย แต่ที่ประจักษ์แก่สายตาส่วนใหญ่จะเป็นด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี การขุดพบพระพุทธบาทปิลันทน์ ที่วัดระฆังฯ นั้น พระเทพญาณเวที (ลมูล สุตาคโม ป.ธ.6) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ “พระสมเด็จ ๓ องค์” ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2515 ขอสำเนามาเสนอดังนี้.. “…หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด) กับพระปิลันทน์ (พระผง) วัดระฆัง พระปิลันทน์นั้น เป็นพระของเจ้าพระคุณหม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ผู้เป็นต้นคิดสร้างขึ้น เป็นพระผงใบลานเนื้อหยาบ ดำสนิทด้านๆ ไม่ดำเป็นมัน มีขี้กรุติดมากบ้างน้อยบ้าง เป็นพระไม่งาม สัณฐานเล็ก ความยาวประมาณ ๑ องคุลี ความกว้างประมาณครึ่งองคุลี ได้เคยเอาเศษหักมาตำผสมกับผงใหม่ มีกลิ่นฉุนๆ เหมือนพริกไท ส่วนประกอบที่องค์พระอันเป็นที่สังเกต เป็นพระนั่งมีปรกก็มี ไม่มีก็มี เป็นพระยืนมีซุ้มเรือนแก้วก็มี เป็นแบบพระประจำวันก็มี ดังนี้…” พระพุทธบาทปิลันทน์ แตกกรุออกมาเนื่อจากมีผู้เข้าไปเจาะกรุพระเจดีย์เพื่อหวังทรัพย์สินของมีค่าเท่านั้น ไม่ประสงค์ในพระเครื่อง ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ท่านเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถในขณะนั้น เมื่อทราบเรื่องจึงให้นำพระเครื่องทั้งหมดมาเก็บไว้ในหอไตรฯ จนเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนท่านจึงนำพระเครื่องส่วนหนึ่งมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่จะออกไปปฏิบัติราชการในสนามรบอีกด้วย ดังที่กล่าวแล้วว่า พระพุทธบาทปิลันทน์ มีมากมายหลายพิมพ์ทรง อาทิ พิมพ์ปกโพธิ์ใหญ่, พิมพ์ปกโพธิ์เล็ก, พิมพ์โมค คัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งสิ้น โดยเฉพาะ “พระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู” ได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดเบญจภาคีพระเนื้อผงอีกด้วย พระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์เปลวเพลิง สร้างตามพระพุทธอิริยาบถปางหนึ่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ“ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์” พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน เปล่งรัศมีเป็นเปลวเพลิง ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า …ครั้นเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จถึงนครกบิลพัสดุ์ตามพระประสงค์แห่งพระพุทธบิดาแล้วนั้น พระพุทธองค์เสด็จประทับเหนือพระพุทธอาสน์ และเหล่าสาวกขึ้นนั่งบนเสนาสนะ ณ โครธารามวิหาร ซึ่งบรรดาศากยวงศานุวงศ์ทั้งหลายได้จัดถวายรับรอง ด้วยความที่กษัตริย์ศากยวงศ์ราชทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่และมีมานะทิฐิ ไม่แสดงความเคารพต่อพระบรมศาสดาเพราะเห็นว่ามีอายุน้อยกว่า พระองค์มีพรประสงค์ที่จะลดมานะทิฐิเหล่านั้น จึงแสดงพุทธานุภาพจนทำให้หายจากทิฐิมานะและพากันนอบน้อมถวายนมัสการต่อพระพุทธองค์ |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
0813116011 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0818306399 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
15,492 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|